ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส
พระมหากษัตริย์โปรตุเกสและอัลการ์วึช
ครองราชย์6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1656 - 12 กันยายน ค.ศ. 1683
พิธีอวยองค์15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1657
ก่อนหน้าฌูเอาที่ 4
ถัดไปเปดรูที่ 2
ผู้สำเร็จราชการลุยซา เด กุสมาน
(1656–1662)
อิงฟังตึเปดรู ดยุกแห่งเบฌา
(1668–1683)
พระราชสมภพ21 สิงหาคม ค.ศ. 1643
พระราชวังริเบย์รา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
สวรรคต12 กันยายน ค.ศ. 1683
พระราชวังหลวงซินทรา ซินทรา ประเทศโปรตุเกส
(พระชนมายุ 40 พรรษา)
พระมเหสีเจ้าหญิงมารี ฟรานซัวส์แห่งเนมัวส์
ราชวงศ์บรากังซา
พระราชบิดาพระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส
พระราชมารดาลุยซา เด กุสมาน

พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 (โปรตุเกส: Afonso VI; 21 สิงหาคม ค.ศ. 1643 - 12 กันยายน ค.ศ. 1683) เป็นพระมหากษัตริย์โปรตุเกสและอัลเกรฟลำดับที่ 22 และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บรากังซา พระองค์ทรงได้พระสมัญญานามว่า "พระผู้ทรงชัย" (o Vitorioso)

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]

พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1643 ณ พระราชวังริเบย์รา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เป็นพระโอรสในพระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกสกับลุยซา เด กุสมาน อี ซานโดวาล เมื่อมีพระชนมายุได้ 3 พรรษา พระองค์ทรงพระประชวรหนักจนเกือนสิ้นพระชนม์ ส่งผลให้พระวรกายซีกขวาคล้ายจะเป็นอัมพาต ต่อมาพระราชบิดาได้สถาปนาเจ้าชายอาฟงซูเป็น "ดยุคแห่งบรากังซา"

หลังจากเจ้าชายเทโอโอซิโอแห่งบราซิล ผู้เป็นพระเชษฐาได้สิ้นพระชนม์ลงในปีค.ศ. 1643 ขณะมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา ทำให้เจ้าชายอาฟงซูได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทโปรตุเกสและทรงได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายแห่งบราซิล"

ครองราชย์

[แก้]
ลูอิส เดอ วาสคอนเซลอส เคานท์ที่ 3 แห่งคาสเตโล นายกรัฐมนตรีคนสนิทของพระเจ้าอาฟงซู

เจ้าชายอาฟงซูได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาซึ่งเสด็จสวรรคตในปีค.ศ.1656 ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 13 พรรษา พระนางลุยซา พระราชชนนีต้องเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จากพินัยกรรมของพระราชบิดา เนื่องมาจากพระอาการที่เกือบจะเป็นอัมพาตทำให้พระองค์ไม่สนพระทัยด้านการเมืองการปกครอง พระองค์ทรงมอบหมายให้พระราชมารดาออกว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์เป็นเวลา 6 ปี จนกระทั่งปีค.ศ. 1662 ในรัชสมัยนี้กองทัพโปรตุเกสได้รบชนะสเปนในการสู้รบที่อเมซิอัล ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1663 และรบชนะในยุทธการที่มอนเตส คาร์ลอส ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1665 ผลจากการสู้รบทำให้สเปนยอมรับการเป็นเอกราชของโปรตุเกสภายใต้ราชวงศ์บรากังซาอย่างเป็นทางการในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1668 จากสนธิสัญญาลิสบอน ค.ศ. 1668 ต่อมาได้เกิดปัญหาด้านอาณานิคมขิ้นโดยชาวดัตช์ได้เข้ายึดอาณานิคมแห่งสุดท้ายของโปรตุเกสในศรีลังกาซึ่งก็คือ แคว้นจาฟนา และโปรตุเกสได้มอบเมืองบอมเบย์และทานเจียร์แก่อังกฤษในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1661 เพื่อเป็นสินสมรสในการอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งบรากังซา ผู้เป็นพระเชษฐภคินี โดยทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปีค.ศ. 1661 อังกฤษได้เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างเนเธอร์แลนด์และโปรตุเกส โดยยอมรับว่า โปรตุเกสปกครองบราซิล ส่วนเนเธอร์แลนด์ปกครองศรีลังกา

ในปีค.ศ. 1662 ลูอิส เดอ วาสคอนเซลอส เคานท์ที่ 3 แห่งคาสเตโล เมลฮอร์พยายามที่จะกุมอำนาจทั้งหมดโดยเป็นคนโปรดของพระเจ้าอาฟงซู เขาได้ทูลยุยงให้พระเจ้าอาฟงซูหลงเชื่อว่า พระนางลุยซาพยายามยึดราชบัลลังก์แล้วเป็นใหญ่เสียเองและจะเนรเทศพระองค์ออกจากโปรตุเกส พระเจ้าอาฟงซูทรงเชื่อ พระองค์ได้ยึดพระราชอำนาจมาจากพระราชมารดาและเนรเทศพระนางไปยังคอนเวนต์

อภิเษกสมรส การสูญเสียพระราชอำนาจและสวรรคต

[แก้]

ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1666 พระเจ้าอาฟงซูอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งเนมัวส์ พระราชธิดาในดยุคแห่งซาวอย หลังการอภิเษกสมรส พระเจ้าอาฟงซูไม่เสด็จไปพบพระนางเลย พระเจ้าอัลฟองโซแทบไม่เคยย่างพระบาทไปพบพระมเหสีเลยสักครั้ง ขณะที่เจ้าชายเปโดร พระอนุชาเสด็จมาไต่ถามสุขทุกข์หลายครั้ง พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาจึงหันมาสนิทสนมกับพระอนุชาของพระสวามีแทน และบางคนกล่าวว่าทรงสนิทสนมมากเกินไป

แต่เนื่องจากพระเจ้าอาฟงซูและพระมเหสียังไม่ทรงมีบุตร ทำให้หลายคนต่างถกเถียงเรื่องนี้ ทำให้พระเจ้าอาฟงซูจำต้องแก้ไขเหตุการณ์นี้ มีรายงานว่าพระองค์จะให้ข้าราชบริพารคนสนิทในที่ประทับของพระองค์มีเพศสัมพันธ์กับพระราชินีแทนพระองค์เอง และถ้าพระนางทรงพระครรภ์ก็จะสามารถกำจัดพระราชอำนาจของพระอนุชาได้ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1667 พระเจ้าอัลฟองโซทรงเชื้อเชิญพระนางมาเรีย ฟรานซิสกามาเยือนที่พระตำหนักในกลางดึก โดยมีข้าราชบริพารคนสนิทสองคนอยู่ด้วย ซึ่งผิดหลักธรรมเนียมโบราณที่ว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชประสงค์ที่จะหลับนอนกับพระมเหสี พระองค์จะต้องเป็นฝ่ายไปประทับที่ตำหนักของพระมเหสี โดยมีเหล่านางสนองพระโอษฐ์อยู่ใกล้ๆ แต่แผนการของพระองค์ต้องล้มเหลวเพราะพระราชินีสงสัยว่าพระสวามีมีแผนการบางอย่างในพระทัย พระนางจึงปฏิเสธที่จะเสด็จไปยังที่ประทับของพระสวามี เป็นเหตุให้พระเจ้าอัลฟองโซทรงกุมดาบ พร้อมพระพักตร์แดงก่ำด้วยความโกรธ พระองค์สาบานว่า หากพระราชินีไม่เสด็จมาด้วยความสมัครใจภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง พระองค์จะเสด็จไปลากพระราชินีมาที่แท่นบรรทมด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็มีรับสั่งให้มหาดเล็ก 4 คนไปกุมตัวพระนางมายังที่ประทับ

ในที่สุดพระนางมาเรีย ฟรานซิสกาก็สิ้นความอดทน วันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1667 พระนางจึงเสด็จไปประทับที่คอนแวนต์แห่งหนึ่ง และส่งข่าวไปทูลพระเจ้าอาฟงซูทราบว่าพระนางถือว่าการอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะ เนื่องจากไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศเกินขึ้นหลังจากการอภิเษกสมรสผ่านไป 16 เดือน ทันทีที่พระเจ้าอัลฟองโซทรงได้รับหนังสือฉบับนั้น พระองค์ก็เสด็จไปคอนแวนต์เพื่อจับกุมพระราชินี แต่เจ้าชายเปโดรพร้อมด้วยทหารได้เสด็จมาและทรงปฏิญาณว่าจะปกป้องพระราชินีทุกวิถีทาง ทำให้พระเจ้าอาฟงซูจำต้องเสด็จกลับไป ขณะถึงพระราชวังพระองค์ได้ถูกจับกุมเป็นนักโทษและยอมรับในการไต่สวนว่าพระองค์ไร้สมรรถภาพ บิชอปแห่งลิสบอนจึงประกาศให้การอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะ

พระนางมาเรีย ฟรานซิสกา พระมเหสี

เมื่อพระราชินีทรงมีหนังสือถึงสภานิติบัญญัติ โดยทรงขอเสด็จกลับภูมิลำเนาพร้อมสินเดิมก่อนอภิเษกสมรส สมาชิกสภาทุกคนได้เดินทางมาแลละขอร้องไม่ให้พระนางจากแผ่นดินนี้ พวกเขาขอร้องให้พระนางอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเปโดรและประทับอยู่ในฐานะพระราชินีของตน ซึ่งทุกคนต่างชื่นชมในความสามารถของพระนางที่กระทำการรัฐประหารด้วยสติปัญญา จากนั้นสมาชิกสภาได้ไปขอร้องให้เจ้าชายเปโดรอภิเษกสมรสกับพระราชินี ซึ่งพระองค์ก็ยินดีแต่ทรงปฏิเสธที่จะครองราชย์ตราบใดที่พระเชษฐายังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์จะทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาและเจ้าชายเปโดรได้ก่อรัฐประหารรัฐบาลของลูอิส เดอ วาสคอนเซลอส เคานท์ที่ 3 แห่งคาสเตโล เมลฮอร์ นายกรัฐมนตรีคนสนิทของพระเจ้าอัลฟองโซ

พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 ทรงถูกกักกันอย่างสมพระเกียรติ พอพระองค์ทราบว่าการอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะและพระมเหสีอภิเษกสมรสใหม่กับเจ้าชายเปโดร พระองค์ตรัสว่า "อา...ดีแล้ว! ไม่มีอะไรให้สงสัยเลยว่า อีกไม่ช้าน้องชายที่น่าสงสารของข้าจะต้องเสียใจเหมือนกับข้า ที่เกลือกกลั้วกับนังผู้หญิงฝรั่งเศสน่าเบื่อคนนี้"[1]

เจ้าชายเปโดรได้ดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและได้อภิเษกสมรสกับพระราชินีมาเรีย ฟรานซิสกา และได้เนรเทศพระเจ้าอัลฟองโซไปยังเกาะเตอเชราในหมู่เกาะอะโซเรสเป็นเวลา 7 ปี และต่อมาได้เสด็จกลับมายังแผ่นดินใหญ่ เจ้าชายเปโดรทรงให้พระเชษฐาเสวยสุราอย่างหนัก ดัวยหวังว่าพระเชษฐาจะสวรรคตจากการดื่มสุรา อย่างไรก็ดี วันหนึ่งพระเจ้าอัลฟองโซได้ปฏิญาณว่าจะไม่ทรงแตะต้องเครื่องดื่มมึนเมาอีก สร้างความขุ่นเคืองแก่คณะรัฐบาลมาก เอกอัครราชทูตแห่งซาวอยเขียนเล่าว่า ผู้ตวบคุมพระเจ้าอาฟงซูที่นับถือบาทหลวงคณะเยสุอิต พูดถึงการฟื้นฟูสุขภาพของพระเจ้าอาฟงซูว่า "เป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างเห็นได้ชัด"[2]

ทว่าสุดท้ายพระเจ้าอาฟงซูกลับสวรรคตด้วยพระกระยาหารมิใช่สุรา พระองค์มีพระวรกายใหญ่มากขึ้น พระองค์แทบจะเสด็จออกจากพระแท่นไม่ไหว จากรายงานบางฉบับบอกว่า การเสด็จดำเนินกลายเป็นเรื่องทุกข์ทรมาน หลังจากทรงถูกจองจำเป็นเวลา 15 ปี พระองค์ก็สิ้นพระชนม์เดือนกันยายน ปีค.ศ. 1683 เนื่องจากเส้นพระโลหิตในสมองแตก ขณะมีพระชนมายุ 40 พรรษา ณ พระราชวังหลวงซินทรา ซินทรา ประเทศโปรตุเกส

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เทโอโดซิโอที่ 1 ดยุคที่ 5 แห่งบรากังซา
 
 
 
 
 
 
 
8. จอห์นที่ 1 ดยุคที่ 6 แห่งบรากังซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. อิซาเบล เดอ แลนคัสเตอร์
 
 
 
 
 
 
 
4. เทโอโดซิโอที่ 2 ดยุคที่ 7 แห่งบรากังซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุคที่ 4 แห่งกุยมาเรส
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงแคทเทอรีน ดัสเชสแห่งบรากังซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งบรากังซา
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. อินิโก เฟอร์นันเดส เดอ เวเลสโก ดยุคที่ 4 แห่งฟรีแอส
 
 
 
 
 
 
 
10. ฮวน เฟอร์นันเดส เดอ เวเลสโก ดยุคที่ 5 แห่งฟรีแอส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. มาเรีย แองเจลา เดอ อารากอน ยี กุสแมน
 
 
 
 
 
 
 
5. อนา เดอ เวเลสโก ยี กีโรน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เปโดร แตเรส-กีโรน ดยุคที่ 1 แห่งโอซูนา
 
 
 
 
 
 
 
11. มาเรีย แตเรส-กีโรน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เลโอนอร์ อนา เดอ กุสแมน ยี อารากอน
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. ฮวน คาร์ลอส เปเรส เดอ กุสแมน เคานท์ที่ 9 แห่งไนเบีย
 
 
 
 
 
 
 
12. อลอนโซ เปเรซ เดอ กุสแมน ดยุคที่ 7 แห่งเมดินา ซิโดเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เลโอนอร์ แมนริเคว เดอ ซูนิกา โซโตมายอร์
 
 
 
 
 
 
 
6. ฮวน มานูเอล เปเรซ เดอ กุสแมน ดยุคที่ 8 แห่งเมดินา ซิโดเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ลุย โกเมซ เดอ ซิลวา เจ้าชายที่ 1 แห่งอีโบลี
 
 
 
 
 
 
 
13. อนา เดอ ซิลวา ยี เมนโดซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อนา เดอ เมนโดซา เจ้าหญิงแห่งอีโบลี
 
 
 
 
 
 
 
3. ลุยซา เดอ กุสแมน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. ฟรานซิสโก โกเมซ เดอ ซัลโดวัล มาควิสที่ 4 แห่งเดเนีย
 
 
 
 
 
 
 
14. ฟรานซิสโก โกเมซ เดอ ซัลโดวัล ดยุคที่ 1 แห่งเลอร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. อิซาเบล เดอ บอร์ยา
 
 
 
 
 
 
 
7. ฮวนนา ลอเรนซา โกเมซ เดอ ซัลโดวัล ยี ลา เซอดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ฮวน เดอ ลา เซอดา ดยุคที่ 4 แห่งเมดินาเซลี
 
 
 
 
 
 
 
15. คาทาลีนา เดอ ลา เซอดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. ฮวนนา เดอ โบรอนฮา
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gribble,Poltugal, p 66
  2. Gribble,Poltugal, p 68
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Afonso_VI_of_Portugal
  • Public Domain บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
ก่อนหน้า พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส ถัดไป
พระเจ้าฌูเอาที่ 4
พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
(6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2199 - 12 กันยายน พ.ศ. 2226)
พระเจ้าเปโดรที่ 2